ภาษาไทย Русский English
Православная Церковь в Таиланде (Московский Патриархат)

Menu:

กิจกรรม:

15 ตุลาคม ค.ศ. 2016:
พระสังฆราชคิริลล์แห่งกรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย ได้ส่งสาร์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รายละเอียด...

14 ตุลาคม ค.ศ. 2016:

รายละเอียด...

25 อาจ ค.ศ. 2016:
พระสังฆราชแห่งกรุงมอสโกและรัสเซียคิริลล์มีความสุขการก่อสร้างพระวิหาร เซราฟิม ซารอวซกีย บน เกาะพงันประเทศไทย

รายละเอียด...

19 อาจ ค.ศ. 2016:
ได้มีพิธีศีลมหาสนิทครั้งแรกของศาสนิกชนคริสต์ บนเกาะพงัน

รายละเอียด...

15 อาจ ค.ศ. 2016:
เเขกของโบสถ์เซนต์นิโคลัสในกรุงเทพฯ

รายละเอียด...

06 อาจ ค.ศ. 2016:
พระสังฆราชคิริลล์แห่งกรุงมอสโกและรัสเซีย

รายละเอียด...

20 เมษายน ค.ศ. 2016:
หนังสือ "กฎเกณฑ์ของพระเจ้า" ได้แปลเป็นภาษาลาวและได้รับการตีพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ เมื่อ

รายละเอียด...

08 เมษายน ค.ศ. 2016:
พิธีถวายตัวเป็นนักพรต ของศาสนาคริสต์ออธอร์ด๊อกซ์ เป็นงานอันทรงเกรียติยิ่ง พิธีได้จัดขึ้นณ. โบสถ์อัสสัมชัญอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารีในจังหวัดราชบุรี

รายละเอียด...

04 ตุลาคม ค.ศ. 2013:
เริ่มงานจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ที่เกาะสมุย

รายละเอียด...

03 ตุลาคม ค.ศ. 2013:
วันเฉลิมฉลองนักบุญแห่งนามของเจ้าอาวาสอเล็ก (ชีรีปานิน)

รายละเอียด...





คริสต์เตียนออร์โธด็อกซ์ทั่วโลกในเวลานี้.

นิกายออร์ธอด๊อกซ์ในเวลานี้ประกอบด้วย 15 ผู้นำสงฆ์ของแต่ละโบสถ์ทั่วโลก ที่มีเอกภาพเป็นของตนเองของแต่ประเทศซึ่งมีหลักคำสอน และจุดประสงค์ที่เป็นศูหนึ่งเดียวกัน ผู้นำอัครสังฆราสของศาสนจักรคริสเตียนออโธด๊อกซ์แต่ละประเทศนั้น สามารถตัดสินใจที่จะกระทำการในพิธีกรรมต่างๆได้ แต่ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนหลักคำสอนของนิกายออร์โธด๊อกซ์ที่มีมาแต่ดั่งเดิม เนื่องด้วยแต่ละผู้นำสงฆ์ของนิกายออร์โธด๊อกซ์ของแต่ละประเทศนั้นอยู่ในวัตถุประสงค์เดียวกัน ของหลักคำสอนของคริสต์เตียนนิกายออร์โธด๊อกซ์ ซึ่งต้องปฏิบัติตามเหมือนกัน ตัวอย่างคณะฑูตสามารถอ่านได้จากพระคริสตธรรมคัมภีร์

ผู้นำสงฆ์ของคริสต์เตียนนิกายออร์โธด๊อกซ์ที่ประจำสังฆมณฑลของแต่ละประเทศทั่วโลกมีดังนี้

1. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่ง กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี

2. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งแอนติออก ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรซีเรียโบราณ

3. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งอเล็กซ์แซนเดรีย แห่งนครอียิปต์

4. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งเยรูซาเลม ประเทศเยรูซาเลม

5. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่ง รัสเซีย ประเทศรัสเซีย

6.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งเซอร์เบีย อยู่ทางตะวันออกของประเทศยูโกสลาเวีย ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศเซอร์เบีย

7.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งโรมาเนีย ประเทศโรมาเนีย

8.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งบัลกาเรีย ประเทศบัลกาเรีย

9.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งจอร์เจีย ประเทศจอร์เจีย

10. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งไซปรัส อยู่ทางตอนใต้ของทะเลเมดิเตอร์ริเนี่ยนหมู่เกาะไซปรัส

11. คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่ง กรีซ ประเทศกรีซ

12.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งโปล์แลนด์ ประเทศโปล์แลนด์

13.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งสาธารณรัฐเชค

14.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งสโลวาเกีย ประเทศสโลวาเกีย

15.คริสตศาสนจักรออร์โธด๊อกซ์สังฆมณฑลแห่งอเมริกัน ประเทศสหรัฐอเมริกา.

ศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซีย นั้นเป็นศาสนจักรที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาศาสนจักรทั้งหมดทั่วโลกของคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์เมื่อศตวรรษที่ 17 ศาสนจักรคริสเตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซีย และศาสนจักรอื่นๆ ของออร์โธด๊อกซ์นั้นประสบกับปัญหาสงคราม และรัสเซียเป็นประเทศเดียวที่ไม่ได้ถูกการยึดครองจากลัทธิศาสนาอื่น และโบสถ์คริสต์เตีนยรัออร์ธอด๊อกซ์รัสเวียนั้น ก็ให้ความช่วยเหลือแก่ศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธอด๊อกซ์แก่ประเทศที่ประสบกับปัญหาทางเสถียรภาพที่ไม่มั่นคง เรื่อยมา นั้นก็คือเหตุผลที่ว่าประเทศรัสเชียได้รับสมญานาม “ประเทศแห่งผู้ใจบุญ”.

เหล่าประชาชนผู้นับถือคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์ทั่วโลกในเวลานี้

เหล่าผู้ที่ศรัทธาในศาสนาคริสต์เตียนนิกายออร์โธด๊อกซ์ประมาณ 180 ล้านคนทั่วโลก เราไม่สามารถทราบสถิติจำนวนประชากรออร์ธอด๊อกซ์ที่แท้จริงจากทั่วโลกได้เพราะว่าคริสต์เตียนออร์ธอด๊อกซ์นั้นมีอาศัยกันอยู่หลายประเทศทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่แล้วอาศัยอยู่ในประเทศดังต่อไปนี้ :

ประเทศรัสเชีย -80 ล้านคน ประเทศยูเครน -20 ล้านคน

ประเทศโรมาเนีย -19.8 ล้านคน

ประเทศกรีซ - 9 ล้านคน

ประเทศเซเบีย - 8 ล้านคน

ประเทศบัลกาเรีย - 6 ล้านคน

ประเทศเบลลารุส - 6 ล้านคน

ประเทศโมโดวา - 3 ล้านคน

ประเทศจอเจีย - 2 ล้านคน

ประเทศมากีโดเนีย - 1 ล้านคน

ประเทศไซปรัส - 5.5 แสนคน

ประเทศเลบานอน - 3.7 แสนคน

ประเทศซีเรีย - 3 แสนคน

ประเทศโปแลนด์ - 1 ล้านคน

ประเทศอัลบาเนีย - 165,000 คน

ประเทศสโลวาเกีย - 80,000 คน

ประเทศเอสโตเนีย - 100,000 คน

ประเทศเคนยา - 400,000 คน

กลุ่มประเทศเบเนลักซ์ - 67,000 คน

(เบลเยี่ยม, เนเธอร์แลนด์, และลักซ์เซมเบอร์ก)

ประเทศฟินแลนด์ - 58,000 คน

ประเทศอียิปต์ -18,000 คน

ประเทศอิสราเอลและจอแดน -15,000 คน

ประเทศสาธารณรัฐเชค - 10,000 คน

ประเทศตุรกี - 5,000 คน

ประเทศชิลี -70,000 คน

ประเทศสหรัฐอเมริกา -5 ล้านคน

ประเทศออสเตรเลีย - 1 ล้านคน

ประเทศแคนนาดา - 680,000 คน

ประเทศเยรมัน - 660,000 คน

ประเทศบราซิล - 180,000 คน

ประเทศฝรั่งเศล 150,000 คน

ประเทศอเจนตินา - 140,000 คน

ประเทศสวีเดน - 94,000 คน

ประเทศเม็กซิโก - 75,000 คน

ประเทศอิตาลี -32,000 คน

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ - 23,000 คน

ประเทศสาธารณรัฐอัฟริกาใต้ - 38,000 คน

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธด็อกซ์รัสเซีย

ศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซียมีอายุมานานกว่าหนึ่งพันปีมาแล้ว ตามประเพณีที่สืบทอดกันมานักบุญแอนดรูว์ ( St.Andrew) ที่พระเยซูคริสต์ทรงเรียกท่านมาเป็นสาวกคนแรก ในขณะที่กำลังเทศนาเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ ได้หยุดที่ภูเขาเคียฟเพื่ออวยพรเมืองเคียฟ

ในอนาคต ข้อเท็จจริงก็คือ รัสเซียมีรัฐทางศาสนาคริสต์ ที่ทรงพลังอยู่ท่ามกลางเหล่าเพื่อนบ้านของตน นั้นก็คือ อาณาจักรบิแซนไทน์ (The Byzantine Empire) มีส่วนช่วยเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้ามาในรัสเซียเป็นอย่างมาก ส่วนทางตอนใต้ของรัสเซียได้รับการอวยพรด้วยงานของนักบุญคีรีล(St. Kirill) และนักบุญ เมโธดิอุส (St. Methodiius)ที่เปรียบได้กับผู้เผยแผ่ธรรม ผู้เป็นเสมือนแสงสว่างแก่ชาวสลาฟ ต่อมาในปี ค.ศ.954เจ้าหญิงโอก้าแห่งเมืองเคียฟประเทศยูเครนในปัจจุบัน ( Princess Olga of Kiev )ได้รับศิลล้างบาป ซึ่งเหล่านี้ได้ปูทางสำหรับเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของชนชาวรัสเซีย โดยมีการโปรดศิลล้างบาปให้แก่เจ้าชายวลาดีเมีย (Prince Vladimir) และประเทศรัสเชียในปี ค.ศ.988

ในยุคก่อนทาร์ทาร์(pre-Tartar) ของประวัติศาสตร์โบสถ์คริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซียเคยเป็นศาสนสถานมณฑลหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับเขตสังฆมณฑลแห่งนครคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) สังฆราชแห่งมณฑลเขตก็ได้รับการแต่งตั้งจากสังฆมณฑลคริสตจักรแห่งนครคอนสแตนติโนเปิลในหมู่ชาวกรีกแต่ในปี ค.ศ.1051 อัครสังฆราชอิลลาริออง (Metropolitan Illarion)ชาวรัสเซียโดยกำเนิดผู้ซึ่งได้รับการศึกษาในสมัยนั้นคนหนึ่งก็ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองเขตสังฆมณฑลเอง

โบสถ์หลายแห่งเริ่มสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 10 นี้ อารามก็เริ่มพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 11 นักบุญแอนโธนีแห่งคูหา ( St. Anthony of the Caves)ได้นำประเพณีต่างๆของการจัดอารามแบบอาธอเนียน เข้ามาในรัสเซียในปี ค.ศ.1051 ท่านได้ก่อตั้งอารามแห่งคูหา ( Monastery of the Caves) อันลือเลื่องขึ้นที่เมืองเคียฟ ซึ่งได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในสมัยรัสเซียโบราณ หลายอารามมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อประเทศรัสเซีย การรับใช้ที่ยิ่งใหญ่มี่สุดที่อารามเหล่านี้ ได้ทำไว้ให้แก่ประชาชนชาวรัสเซียนอกเหนือจากงานด้านจิตวิญญาณที่บริสุทธ์แล้วก็คือ เป็นศูนย์กลางหลักของการศึกษาโดยเฉพาะมีหลายอารามที่ได้รับการบันทึกไว้ในจดหมายเหตุหลายเล่มเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญๆในชีวิตชนชาวรัสเซีย ความรุ่งเรืองในอารามเหล่านี้ได้แก่ภาพวาดเกี่ยวกับผู้เป็นเจ้า และศิลปะวรรณคดี มีผลงานทางเทววิทยา ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมที่มีผู้แปลเป็นภาษารัสเชียอยู่มากมาย

ในศตวรรษที่ 12 ในยุคที่มีความแตกแยกในระบอบศักดินา โบสถ์คริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซียก็ยังคงเป็นเจ้าของอุดมการณ์ด้านความสามัคคีของชนชาวรัสเซีย ทำการต่อต้านการปกครองที่ยึดอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางและความขัดแย้งในระบอบศักดินาในหมู่ราชวงศ์รัสเซีย (แม้จะมีการบุกรุกเข้ามาของ ทาร์ทาร์ ซึ่งถือเป็นความโชคร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ปรากฎขึ้นกับประเทศรัสเซียในศตวรรษที่ 13 ) ก็ไม่สามารถทำลายล้างศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซีย ซึ่งทางศาสนจักรได้ช่วยการปลอบประโลมใจแก่ชาวรัสเชียในสถานการณ์ที่เลวร้ายนั้นให้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้มีส่วนช่วยในด้านวัตถุ และศิลธรรมที่สำคัญต่อการดำรงไว้ซึ่งเอกภาพทางการเมืองของประเทศรัสเซีย เสมือนเป็นผู้ค้ำประกันชัยชนะในอนาคตที่มีต่อผู้บุกรุก นครรัฐต่างๆของรัสเซียที่แตกแยกเริ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียว กันรอบๆกรุงมอสโคว์ ในศตวรรษที่ 14 คณะบาทหลวงของโบสถ์คริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซียจึงแสดงบทบาทสำคัญต่อไปในการฟื้นฟูให้รัสเซียให้เป็นหนึ่งเดียว สังฆราชชาวรัสเชียที่เด่นๆได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง และช่วยเหลือทางด้านกำลังใจแก่เชื้อพระวงศ์รัสเซีย นักบุญอัครสังฆราชอเล็กซ์ซีส (Alexis , ค.ศ. 1354-1478)ก็ได้ประทานความรู้แก่เจ้าชายดิมีทรี ดอนสโกอี ( Prince Dimitry Donskoy)ท่านเหมือนกับนักบุญอัครสังฆราชโจนาส ( Jonas ,ค.ศ.1448-1471) ในยุคต่อมา ได้ใช้อำนาจหน้าที่ช่วยให้เจ้าชายแห่งมอสโคว์ปัดเป่าความขัดแย้งในระบอบศักดินา ออกไปจนหมดสิ้นและผดุงความเป็นเอกภาพของรัฐไว้ได้ เจ้าชายเซอร์จิอุสแห่งราโดเนส (St.Sergius of Radonezh)ผู้ถือสันโดษแห่งคณะรัฐเซียผู้ซึ้งได้ถวายพระพรแด่เจ้าชายดิมีตรี ดอนสโกอี ให้ต่อสู้ในการรบที่โกโว(Kulikovo)ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศอิสระภาพของรัสเซียจากผู้รุกราน

หลายอารามได้มีส่วนช่วยอย่างมาก ต่อการรักษาไว้ซึ่งความมีจิตสำนึกแห่งความเป็นชาติรัสเซีย และความเป็นอันหนึ่งเดียวกันในยุคที่ทาร์ทาร์เข้ามายึดครอง และในช่วงเวลาที่อิทธิพลตะวันตกแพร่ระบาด เห็นได้จากศตวรรษที่ 13 ที่มีการก่อตั้ง โปคาเยฟ ลอร่า (Pochayev Laura) อารามแห่งนี้และเจ้าอาวาสอีอาน (Ioann) ได้พิทักษ์รักษาความเป็นคริสตจักรออร์โธด๊อกซ์ไว้เป็นอย่างมากในดินแดนทางภาคตะวันออกของรัสเซีย พบว่ามีการสร้างโบสถ์ออร์โธด๊อกซ์คริสต์เตียนขึ้นถึง 180 แห่งในช่วงจากศตวรรษที่ 14 ถึงกลางศตวรรษที่ 15 ในรัสเซีย ตามเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของบาทหลวงรัสเซียนโบราณ ก็คือการสร้างโบสถ์พระตรีเอกานุภาพ (Trinity Monastery) โย นักบุญเซอร์จีอุสแห่งราโดเนส (ราวปี ค.ศ. 1334) ซึ่งในโบสถ์แห่งนี้ได้แฝงภาพวาดน่าอัศจรรย์เกี่ยวกับพระประวัติของพระเยซูคริสต์ไว้โดยมีนักบุญแอนดรูว์เป็นผู้พัฒนาขึ้น

เมื่อประกาศตนเป็นอิสระภาพจากผู้รุกรานแล้ว รัฐรัสเซียก็ผนึกกำลังกันและคณะสงฆ์ออร์โธด๊อกซ์คริสต์เตียนก็ทำเช่นกันต่อมาในปี ค.ศ.1448 ไม่นานนักก่อนที่อาณาจักร บิแซนไทน์ จะล่มสลาย สังฆมณฑลแห่งคริสตจักรออร์โธด็อกซ์รัสเซียก็ได้เป็นอิสระจากสังฆนายกแห่งคอนสแตนติโนเปิล และได้มีการก่อตั้งสภาสังฆนายกขึ้นในรัสเซียในปี ค.ศ. 1448 และมอบตำแหน่งอัครสังฆราชแห่งมอสโคว์และรัสเชียทั้งมวล

ต้นศตวรรษที่ 17 นับเป็นช่วงเวลาทุกข์ยากของรัสเซีย พวกโปล์ (Poles) และพวก สวีด (Swedes) ได้รุกรานรัสเซียจากภาคตะวันตก ในช่วงยากลำบากนี้ คณะสงฆ์ของโบสถ์คริสต์เตียนออร์โธอด๊อกซ์รัสเซียได้ทำหน้าที่รักษาแผ่นดินเกิดสำเร็จก่อนที่ประชาชนจะทำเสร็จเสียอีก พระหัวหน้าคณะเกียรโมเกน( Patriarch Germogen ค.ศ. 1606-1612) ผู้รักชาติอย่างแรงกล้าของรัสเซีย ผู้ซึ่งถูกทรมานถึงตายโดยผู้รุกราน เป็นผู้นำด้านกำลังใจโดยการรวบรวมเงินก้อนโดย มีนินกับโปซาร์สกี (Minin and Pozharsky)เป็นแกนนำ การป้องกันตัวเยี่ยงวีระบุรุษของโบสถ์นักบุญเซอร์จีอุสแห่งพระตรีเอกนุภาพจากการรุกรานของพวกสวีดและโปล์ระหว่าง ค.ศ. 1608-1610 ได้รับการจารึกไว้ในจดหมายเหตุศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธด็อกซ์รัสเซีย

หลังจากที่ผู้รุกรานถูกขับไล่ออกไปจากรัสเซียแล้ว โบสถ์คริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซียได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ๆสำคัญที่สุดในบรรดาภาระหน้าที่ๆจะต้องทำ นั้นก็คือ ชี้แนะการชำระหนังสือธรรมะและพิธีกรรมต่างๆ ผู้มีส่วนช่วยมากๆในการนี้ได้กระทำโดยพระหัวหน้าคณะ นิคอน (Patriarch Nikon)ผู้มีบุคลิกภาพสง่างามและผู้ปฏิรูปแห่งคริสตศาสนจักรคณะสงฆ์โบสถ์ออร์โธด๊อกซ์ที่เด่น หมอสอนศาสนาและปุถุชนบางคนไม่เข้าใจและไม่ยอมรับการปฏิรูปพิธีสักการะบูชาพระผู้เป็นเจ้า ที่สภาสังฆราชคณะชี้แนะ และปฏิเสธที่จะเคารพอำนาจของสภาสงฆ์ สิ่งนี้ทำให้เกิดการแตกแยกขึ้นในกลุ่มที่มีความศรัทธาในหลักคำสอนเก่า

ในตอนต้นศตวรรษที่ 18 ได้มีการปฏิรูปอย่างรุนแรงเกิดในรัสเซียโดยกษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 ( Tsar Peter 1 of Russia) การปฏิรูปนี้ไม่ละเว้นแม้แต่สภาสงฆ์แห่งคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์รัสเซียโดยที่หลังจากมรณะกรรมของอัครพระสังฆราชเอเดรียน ( Patriarch Adrian) ในปี ค.ศ.1700 กษัตริย์ปีเตอร์ที่ 1 ก็ได้ประวิงเวลาการเลือกตั้งพระอัครสังฆราชองค์ใหม่ และได้ก่อตั้งกสภาบริหารสูงสุดของศาสนจักรคริสต์เตียนออร์โธด๊อกซ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1721 ที่รู้กันว่าเป็น เถรสมาคมผู้มีหน้าที่ปกครอง เถรสมาคมดังกล่าวยังคงครองความเป็นใหญ่อยู่ในคณะสงฆ์ของคริสตศาสนจักรยออร์โธด๊อกซ์รัสเซียเกือบ 2 ศตวรรษ

ในยุคเถรสมาคมของประวัติศาสตร์จากปี ค.ศ.1721-1917สภาสงฆ์ของโบสถ์รัสเชียออร์โธด๊อกซ์ได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการพัฒนาการศึกษาด้านการศาสนาและการสอนศาสนาในต่างจังหวัด โบสถ์เก่าแก่ได้รับการ ปฏิสังขรณ์และมีการสร้างโบสถ์ใหม่ๆขึ้นต้นศตวรรษที่ 19 ได้ถูกบันทึกไว้โดยงานของเทววิทยาที่ชาญฉลาดหลายคน นักเทววิทยาชาวรัสเซียหลายท่านได้ทำการพัฒนาครั้งใหญ่เช่นวิชาวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และตะวันออกศึกษา ในศตวรรษที่ 20 ได้มีการผลิตแบบจำลองที่ยิ่งใหญ่แห่งความศักดิ์สิทธิ์รัสเซียขึ้น อย่างเช่น นักบุญเซราฟิมแห่งซารอฟว์สกี้ (St. Seraphim of Sarov) และการจำศีลแบบกรินสกี ( Glinsky Hermitages)