ภาษาไทย Русский English
Православная Церковь в Таиланде (Московский Патриархат)

Menu:

กิจกรรม:

15 ตุลาคม ค.ศ. 2016:
พระสังฆราชคิริลล์แห่งกรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย ได้ส่งสาร์นแสดงความเสียใจต่อการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

รายละเอียด...

14 ตุลาคม ค.ศ. 2016:

รายละเอียด...

25 อาจ ค.ศ. 2016:
พระสังฆราชแห่งกรุงมอสโกและรัสเซียคิริลล์มีความสุขการก่อสร้างพระวิหาร เซราฟิม ซารอวซกีย บน เกาะพงันประเทศไทย

รายละเอียด...

19 อาจ ค.ศ. 2016:
ได้มีพิธีศีลมหาสนิทครั้งแรกของศาสนิกชนคริสต์ บนเกาะพงัน

รายละเอียด...

15 อาจ ค.ศ. 2016:
เเขกของโบสถ์เซนต์นิโคลัสในกรุงเทพฯ

รายละเอียด...

06 อาจ ค.ศ. 2016:
พระสังฆราชคิริลล์แห่งกรุงมอสโกและรัสเซีย

รายละเอียด...

20 เมษายน ค.ศ. 2016:
หนังสือ "กฎเกณฑ์ของพระเจ้า" ได้แปลเป็นภาษาลาวและได้รับการตีพิมพ์เสร็จสมบูรณ์ เมื่อ

รายละเอียด...

08 เมษายน ค.ศ. 2016:
พิธีถวายตัวเป็นนักพรต ของศาสนาคริสต์ออธอร์ด๊อกซ์ เป็นงานอันทรงเกรียติยิ่ง พิธีได้จัดขึ้นณ. โบสถ์อัสสัมชัญอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่มารีในจังหวัดราชบุรี

รายละเอียด...

04 ตุลาคม ค.ศ. 2013:
เริ่มงานจิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ที่เกาะสมุย

รายละเอียด...

03 ตุลาคม ค.ศ. 2013:
วันเฉลิมฉลองนักบุญแห่งนามของเจ้าอาวาสอเล็ก (ชีรีปานิน)

รายละเอียด...





การอ้างอิงทางประวัติศาสตร์

ความเป็นมาของการเริ่มก่อตั้งศาสนจักรออร์โธด็อกซ์ในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อที่จะตอบสนองแก่ข้อเรียกร้องของเหล่าชาวคริสต์เตียนออร์โธด็อกซ์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งโดยมากแล้วเป็นพลเมืองของอดีตสหภาพโซเวียต ผู้คนเหล่านี้พักอาศัยไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองจากหลายเหตุผลต่างๆ ด้วยกัน ดังนั้นสภาสงฆ์แห่งสังฆมณฑลคริสต์เตียนออร์โธด็อกซ์รัสเซีย (สังฆมณฑลแห่งกรุงมอสโคว์)ได้มีการประชุมหารือในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ มีมติขอการดำเนินการจัดตั้งศาสนจักรขึ้นในกรุงเทพฯโดยศาสนกักรแห่งนี้ได้ก่อตั้งขึ้นในนามแห่งนักบุญนิโคลัส และในการณ์นี้ได้มีการแต่งตั้งท่านบาทหลวงจากจังหวัดยาโรสลาฟว์ พระเจ้าประคุณ คุณพ่อโอเล็กซ์ เชียรีพานิน เพื่อเป็นบาทหลวงประจำศาสนจักรแห่งใหม่นี้

การก่อตั้งและพัฒนาคริสต์ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์เป็นไปอย่างยากลำบาก บางครั้งเรียกได้ว่าเหมือนในละคร การออกกฎหมายไม่ได้ระบุว่านิกายออร์โธด็อกซ์เป็นนิกายหนึ่งของศาสนาคริสต์เนื่องจากนิกายออร์โธด็อกซ์ยังไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นในประเทศไทยในขณะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พระสังฆราชคิรีล สังฆนายกสงฆ์แห่งเมืองสโมเลนส์คและคาลินินกราดแห่งประเทศรัสเซีย ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัสเซียได้เสด็จเยือนกรุงเทพมหานครอย่างเป็นทางการผลลัพธ์ในการเยือนครั้งนั้น ศาสนจักรแห่งนักบุญนิโคลัสได้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นตัวแทนของโบสถ์รัสเซียออร์โธด็อกซ์คริสต์เตียน (ศาสนจักรแห่งมอสโคว์) และท่านบาทหลวงโอเล็กซ์ เชียรีพานิน เป็นผู้แทนแห่งโบสถ์รัสเซียออร์โธด็อกซ์คริสต์เตียนในประเทศไทย เป็นผู้แนะแนวทางจิตวิญญาณ แก่หมู่ประชาชนชาวออร์โธด็อกซ์คริสต์เตียน ถึงในสาธารณรัฐประชาธิปไตประชาชนลาว และราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นเวลายาวนานกว่า ๙ ปี ของการยืนหยัดการทำงานและการสวดอธิษฐานเพื่อที่จะเปลี่ยนให้ประชาชนชาวไทยหันมายอมรับในนิกายออร์โธด็อกซ์ ในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ภายหลังกว่า ๗ เดือน ของการตรวจสอบโดยหน่วยงานของกระทรวงมหาดไทย โบสถ์รัสเซียออร์โธด็อกซ์คริสต์เตียนจึงได้รับการจดทะเบียนขึ้นเป็นองค์เกี่ยวกับการช่วยเหลือทางสังคมและศาสนา

ในเวปไซต์แห่งนี้ทางทีมงานของศาสนจักรและคณะกรรมการแห่งคริศต์จักรรัสเวียออร์โธด็อกซ์ ซึ่งรวมทั้งชาวไทย รัสเซียน โรมาเนียน กรีก ฝรั่งเศส และอื่น ๆ อีกหลายเชื้อชาติจะเล่าเกี่ยวกับชีวิตทางศาสนาของพวกเขาที่ดำเนินในประเทศไทย ความเป็นมาและวัฒนธรรมของประเทศ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และสมเด็จพระจักรพรรดิ์นิโคลัสที่ ๒ แห่งประเทศรัสเซีย ในปี ค.ศ.๑๘๙๗คริสต์ศาสนจักรออร์โธด็อกซ์แห่งรัสเซีย มีความหมายอย่างที่สุดสำหรับชาวคริสต์เตียนออร์โธด็อกซ์ทุกๆคน ตั้งแต่ถือกำเนิดในประเทศไทยโดยปราศจากข้อสงสัย องค์พระประมุขของศาสนจักรคือพระอัครสังฆราชอเล็กเซที่ ๒ แห่งกรุงมอสโคว์และสหพันธรัฐรัสเซียทั้งปวง และพระองค์ก็ทรงเป็นองค์พระอัครสังฆราชของพวกเราด้วยเช่นกัน ภายหลังจากการศึกษาเวปไซต์นี้อย่างละเอียด แล้ว สามารถเห็นได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศไทย (ครั้งยังเป็นสยามประเทศ) มีความพิเศษและมีแง่มุมในหลาย ๆ ด้าน นับตั้งแต่มิตรภาพส่วนพระองค์ที่เห็นได้แจ่มชัดของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งราชวงค์จักรี และจักรพรรดิ์นิโคลัสที่ ๒ แห่งราชวงค์โรมานอฟ ซึ่งภายหลังถูกประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นนักบุญ ได้ทรงเจริญสัมพันธไมตรีและมีความร่วมมือกันระหว่างพลเมืองของทั้งสองประเทศ แม้แต่ช่วงปีของการซบเซา ไม่เชื่อในพระเจ้า และเชื่อว่าไม่มีพระเจ้าเข้าครอบงำประเทศรัสเซีย สิ่งนี้ก็มิอาจทำลายความรู้สึกดี ๆ ของประชาชนทั้งสองประเทศได้ ในการมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีวลาดีเมียร์ ปูติน ใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ และการเสด็จเยือนประเทศรัสเซียอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนารถในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เสริมสร้างโซ่ทองแห่งประวัติศาสตร์ ที่จะเกี่ยวดองสองชนชาติของทั้งสองประเทศไว้ด้วยกันสืบต่อไป

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตร์พระบรมราชินินารถ และประธานาธิวลาดิเมียร์  ปูติน ที่กรุงมอสโคว์ ค.ศ.๒๐๐๗